Healthy Hc

คำแนะนำในการป้องกันโรคไมเกรนกำเริบ 8 ข้อดังต่อไปนี้
(1). กินอาหารให้ตรงเวลา · การกินอาหารไม่ตรงเวลา หรืองดอาหารเป็นบางมื้ออาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) ซึ่งเป็นตัวกระตุ้น (trigger) สำคัญที่ทำให้อาการปวดหัวกำเริบ …
(2). ลดขนม-น้ำตาล · การกินขนม อาหารหวานมากๆ เครื่องดื่มเติมน้ำตาล หรือลูกอมอาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเร็วและลงเร็ว ผลที่ตามมาคือ ระดับน้ำตาลในเลือดจะขึ้นๆ ลงๆ โดยเฉพาะ “ขาลง” นั้นมีส่วนกระตุ้นอาการปวดหัวได้ (ทำไมขึ้นๆ ลงๆ คล้ายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ก็ไม่ทราบ) …
(3). ไม่ดื่มเหล้า · เหล้า เบียร์ ไวน์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีส่วนกระตุ้นทำให้ปวดหัวไมเกรนเพิ่มขึ้นได้ กลไกอาจเป็นจากการที่หลอดเลือดเต้นแรงขึ้น (ขยายตัว-หดตัวมากขึ้น) ในช่วงแรก และระดับน้ำตาลในเลือดมักจะต่ำลงในเวลาต่อมา (แอลกอฮอล์มีพิษต่อตับ ไปกดการสร้างน้ำตาลจากแป้งในตับ) …
(4). ปรึกษาหมอ · ปรึกษาหมอใกล้บ้านดูว่า มีเวลาปวดหัวขึ้นมา… ควรทำอย่างไร เช่น ควรกินยาอะไรบ้าง ขนาดเท่าไร ฯลฯ · ถ้าเป็นบ่อยตั้งแต่ 2 ครั้งต่อสัปดาห์… ควรปรึกษาหมอว่า จะใช้ยาป้องกันอาการปวดได้หรือไม่ …
(5). เตรียมยา · เตรียมยาแก้ปวดไว้ประจำบ้าน… อย่าปล่อยให้ยาหมด ให้เตรียมยาไว้อย่างน้อย 2-4 เม็ดเผื่อไว้เลย · ถ้าเดินทางบ่อย… ให้ทำรายการเช็คของใช้ (checklist) ที่รวมยาไว้เสมอ หรือติดป้ายเตือนที่ประตูบ้านว่า อย่าลืมนำยาไปด้วย · ถ้าขับรถบ่อยง.. ให้เตรียมยาไว้ในรถ …
(6). อย่าเปลี่ยนเวลานอน · การเปลี่ยนเวลานอน เช่น วันนี้นอนหัวค่ำ พรุ่งนี้นอนดึก ฯลฯ อาจกระตุ้นไมเกรนได้ …
(7). นอนให้พอ · ภาวะอดนอนมีส่วนกระตุ้นไมเกรน เพราะฉะนั้นถ้าจำเป็นต้องเดินทางไกลข้ามคืน เช่น นั่งรถไฟ รถทัวร์ ฯลฯ ควรลงทุนเดินทางกลางวัน หรือเลือกเดินทางแบบไม่รีบร้อน เพื่อให้มีเวลานอนชดเชยมากพอ …
(8). สังเกตอาการ · ควรสังเกตอาการนำ (aura) หรืออาการของโรคระยะแรกๆ ว่า เป็นอย่างไร เนื่องจากการรักษาโรคในระยะแรกๆ ได้ผลดีกว่าการรักษาหลังเป็นโรคนานๆ · ช่วงไหนที่เป็นโรคบ่อย… ควรหลีกเลี่ยงงานเลี้ยง งานสังสันทน์พบปะคนจำนวนมาก หรืองานที่มีเสียงดังๆ เช่น งานแสดงดนตรี ฯลฯ เพื่อลดความเครียดที่อาจทำให้โรคกำเริบได้ …
(9). แบ่งงาน · การรับงานหรือภาระต่างๆ ไว้คนเดียวมากๆ โดยเฉพาะท่านที่เป็นแม่บ้านคงจะไม่ดี ทางที่ปลอดภัยกว่าคือ แบ่งงานให้คนอื่น หรือขอความช่วยเหลือคนอื่นให้รับงานไปบ้าง เช่น ถ้าทำกับข้าว ควรฝึกให้ลูกๆ หลานๆ ช่วยล้างจาน ถูพื้น ล้างรถ ฯลฯ · ถ้าทำงานที่มีเวรหรืองานล่วงเวลาก็ไม่ควรรับงานมากเกิน เนื่องจากถ้าร่างกายอ่อนเพลียมากเกินแล้ว จะปวดหัวได้ง่าย …
(10). พูดคำว่า ไม่” ให้เป็น · คนที่พูดคำว่า “ไม่” ไม่เป็น อะไรๆ ก็ “รับ” เข้ามาหมด เช่น ใครมอบงานอะไรให้ก็รับหมด ใครขออะไรก็ให้หมด ฯลฯ แบบนี้ชีวิตอาจจะหาเวลาให้กับตัวเองไม่ได้เลย ทำให้เครียด และปวดหัวง่าย … · ธรรมดาของคนใจดีนั้น… มักจะตกเป็นเหยื่อของคน “ขี้ขอ” หรือคนมักมาก ทำให้คนใจดีหรือคนที่มีน้ำใจลำบากบ่อยมากๆ · ทางที่ดีคือ ควรหัดปฏิเสธ หรือพูดคำว่า “ไม่” ให้เป็น เพื่อไม่ให้พวกคนมักมากหรือคนขี้ขอมาเบียดเบียนจนปวดหัวบ่อยเกิน …
(11). แบ่งเวลา · ญี่ปุ่นมีภาษิตหนึ่งกล่าวว่า “เจ็บป่วยเล็กน้อย อายุยืน” หมายถึงว่า ถ้าเราเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ แล้ว หันมาศึกษาหาความรู้ ใส่ใจกับสุขภาพให้มาก แบบนี้จะพลิกวิกฤตให้กลายเป็นโอกาส และอาจทำให้อายุยืนยาวอย่างมีคุณภาพได้ · การให้เวลากับคนอื่นนั้นดี ทว่า… ควรหาเวลาให้กับตัวเอง เพื่อทำอะไรที่เราชอบ หรือพักผ่อนสบายๆ สไตล์เราบ้าง เพื่อลดความเครียด ซึ่งอาจกระตุ้นไมเกรนได้เช่นกัน คัดจาก บ้านสุขภาพ- น.พ.วัลลภ พรเรืองวงศ์

6 วิธีเพิ่มน้ำหนัก อย่างมีสุขภาพดี

อาหาร

แม้ส่วนใหญ่คนที่มีน้ำหนักเกินมักคิดว่าตัวเองมีปัญหาสุขภาพมากกว่าคนรูปร่างผอม บ้างก็แอบอิจฉาคนผอมที่กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนเลยสักที แต่แท้จริงแล้วการมีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน บางครั้งก็แสดงถึงปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น การทำงานของฮอร์โมนผิดปกติ ซึ่งควรตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง

แต่สำหรับคนที่น้ำหนักน้อยตามธรรมชาติของร่างกาย และอยากมีน้ำมีนวลมากขึ้นกว่าเดิม เรามีวิธีเพิ่มน้ำหนักอย่างมีสุขภาพดีมาฝากค่ะ

 แบ่งมื้ออาหารให้ถี่ขึ้น แทนที่จะกินอาหาร 3 มื้อหลัก ให้แบ่งเป็น 5 -6 มื้อต่อวัน
 เลือกกินคาร์โบไฮเดรตคุณภาพมากขึ้น เช่น ข้าวกล้อง ธัญพืชต่างๆ ขนมปังโฮลวีต หรือคาร์โบไฮเดรตจากผัก ผลไม้ อย่างข้าวโพด เผือก หรือมันอบ
 เน้นโปรตีนจากเนื้อปลามากขึ้น โดยเฉพาะปลานึ่ง
 ระหว่างมื้อให้วางของขบเคี้ยวไว้ใกล้มือ เช่น มิกซนัท ผลไม้แห้ง อย่างลูกเกด ถั่วหรือ ธัญพืชอบต่างๆ
 ดื่มน้ำผลไม้ เป็นประจำทุกวันโดยเลือกผลไม้ที่ไม่หวานจนเกินไป วิธีนี้ช่วยเพิ่มแคลอรี่อีกทางหนึ่ง
 ออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนัก เพราะช่วยสร้างกล้ามเนื้อแต่ไม่แนะนำให้ออกกำลังกาย แบบแอโรบิค เพราะวิธีนี้เหมาะกับการลดน้ำหนักมากกว่า

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก

ข้อปฏิบัติที่ผิดพลาด 10 ข้อสำหรับการรับประทานอาหาร สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก 
1. เลือกรับประทานแต่อาหารที่ชอบ การเลือกรับประทาน แต่ที่ชอบโดยไม่ระมัดระวัง จะทำให้ รับประทานอาหารนั้นต่อไปได้เรื่อย จนลืมว่าเราต้องการลดน้ำหนัก
2. อดอาหารมากเกินไป หากมัวเข้มงวดในการควบคุม แคลอรี่ในร่างกายมากเกินไป ก็จะยิ่งเป็นการกระตุ้น ให้ร่างกายเกิดความหิว และอยากอาหารมากขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้การลดน้ำหนักไม่ได้ผล
3. ไม่มีจุดยืนหรือเป้าหมายที่แน่ชัด หากอยากลดน้ำหนัก ด้วยการควบคุมอาหาร ก็ควรตั้งเป้าหมายไว้ เช่น เขียนไว้ในบันทึกว่า จะลดน้ำหนักลงเท่าไร อย่างไร และกระทำตามนั้น แต่เป้าหมายดังกล่าว ต้องเป็นเป้าหมายที่เราทำได้ด้วย
4. ดื่มเครื่องดื่มที่มี แคลอรีสูง การดื่มไวน์แดง ร่วมกับการรับประทานอาหารค่ำ การดื่มนมไร้ไขมัน หรือน้ำผลไม้ระหว่างวัน ก็ให้แคลอรีสูง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการลดน้ำหนัก ดังนั้น ผู้ที่ลดน้ำหนัก จึงควรดื่มน้ำเปล่าดีกว่า หรืออาจจะเป็นน้ำมะนาวก็ได้
5. ไม่ยอมออกกำลังกาย ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก จะต้องจำไว้ว่า สิ่งสำคัญในการลดน้ำหนักให้ได้ผล คือ ต้องเพิ่มจำนวนแคลอรี่ที่ใช้ในร่างกาย ซึ่งการบริหารร่างกาย จะมีส่วนช่วยให้เกิดการใช้แคลอรี่มากขึ้น
6. ความเครียด เป็นอุปสรรคสำคัญของการลดน้ำหนัก บางคนลดไม่ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และเครียดจัด อาจกลับมารับประทานอาหารมากขึ้น
7. ให้รางวัลกับตนเองด้วยอาหาร บางคนลืมตัวไปว่ากำลังควบคุมอาหาร พอเห็นว่าแผนลดน้ำหนักเริ่มได้ผล ก็เริ่มรับประทานอาหารมากขึ้น นักวิจัยบอกว่า น่าจะให้รางวัล โดยการลดอาหารดูบ้าง
8. การเลี่ยนแปลงตนเองมากเกินไป เหตุผลอีกประการหนึ่ง ที่ทำให้การลดน้ำหนักไม่ได้ผล คือการเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกสิ่งทุกอย่าง มากเกินไปในเวลาเดียวกัน เช่น เป็นคนชอบรับประทานเนื้อสัตว์มากๆ แต่หันมาเปลี่ยนเป็นมังสวิรัติในเวลาอันสั้น
9. ไม่ยอมเปลี่ยนความคิดใหม่ ควรคิดอยู่เสมอว่า การลดน้ำหนักเพื่อทำให้สุขภาพดี ทำให้เราอยากเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง
10. ทำตัวแบบเดิม บางคนไม่ยอมเปลี่ยนแปลงอาหารการกิน หรือเปลี่ยนแปลงการทำกิจกรรม ถ้าลองเปลี่ยนแปลงแปลงอาหารการกิน การทำกิจกรรม และการดำเนินชีวิตดูบ้าง ก็จะสามารถรักษารูปร่าง และสุขภาพของตนเองไว้ได้

โดย ภญ. อ. กรัณฑ์รัตน์ ทิวถนอม ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
แหล่งข้อมูล : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร – http://www.pharm.su.ac.th

ทำไมต้องให้ความสำคัญกับความอ้วนด้วย ความอ้วน หรือภาวะอ้วน เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้มากมาย เช่น ผลต่อสุขภาพ มีการศึกษาจนมีหลักฐานแน่ชัดว่า ความอ้วนทำให้อัตราการเกิดโรค ในระบบต่างๆ มากขึ้น ได้แก่
1. ความดันโลหิตสูง
2. เบาหวาน หรือในคนไข้ที่เป็นเบาหวานอยู่แล้ว ความอ้วนจะทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินฮอร์โมนได้ ข้อ (1.) และ (2.) เกี่ยวพันโดยตรงกับ อายุที่มากขึ้น และน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น
3. ภาวะเส้นเลือดแข็งตัว (ATHEROSCLEROSIS) อัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ จะสูงขึ้นทั้งในเพศชายและในเพศหญิงวัยกลางคน ที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
4. โรคนิ่วในถุงน้ำดี และการที่มีไขมันแทรกในตับ
5. ระบบทางเดินหายใจ การทำงานของปอดจะลดลง บางครั้งถึงกับมีภาวะการหายใจลดลง ทำให้มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในปอด ในคนที่อ้วนมากๆ ทำให้เหนื่อยง่าย ง่วงนอนอยู่ตลอดเวลา
6. โรคข้อเสื่อม และโรคข้ออักเสบเก๊าท์ จะมีอุบัติการณ์เพิ่มสูงมากในทั้ง 2 เพศ
7. อุบัติการณ์การเกิดมะเร็งบางอย่าง จะสูงขึ้น เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งของถุงน้ำดี และมะเร็งเยื่อบุมดลูก เป็นต้น ผลต่อบุคคลิกภาพ ความสวยงาม และการยอมรับของสังคม คนที่อ้วนมากๆ จะถูกมองว่ารับประทานเก่ง ไม่สนใจดูแลตัวเอง อาจถูกล้อเลียนได้บ่อย ทั้งหมดที่กล่าวมา พอจะเป็นเหตุผลว่า ทำไมจึงไม่ควรปล่อยให้ตนเอง มีภาวะอ้วนเกิดขึ้น

เมื่อไรถึงจะเรียกว่า อ้วน หรือมีภาวะอ้วน
            ในปัจจุบัน เราใช้ Body Mass Index (BMI) เป็นตัวบอกว่า บุคคลนั้นเกิดภาวะอ้วน จนกระทั่งจะทำให้เกิดโรคได้หรือยัง
วิธีการคำนวน BMI = น้ำหนักตัว (เป็นกิโลกรัม)/(ส่วนสูงเป็นเมตร)2

ค่าปกติของเพศหญิง BMI อยู่ระหว่าง 19 – 24
เพศชาย BMI อยู่ระหว่าง 20 – 25   
ความอ้วนมีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง 99% ของภาวะอ้วน ไม่ทราบสาเหตุ 1% ของภาวะอ้วน เกิดจากโรค เช่น โรคทางต่อมไร้ท่อบางอย่าง หรือยาบางอย่าง ที่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยารักษาโรคเบาหวาน ยาคุมกำเนิด ยารักษาโรคภูมิแพ้ ยาทางด้านจิตประสาท 99% ที่บอกว่าไม่ทราบสาเหตุนั้น แท้จริงแล้วคือ หาสาเหตุที่แน่นอน หรือโรคทางด้านร่างกายไม่ได้ แต่อาจอธิบายได้จาก กรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม จากการสังเกตและศึกษาพบว่า กรรมพันธุ์เรื่องอ้วน มีส่วนทำให้เกิดภาวะอ้วนได้ ส่วนสิ่งแวดล้อม เช่น พื้นฐานทางด้านวัฒนธรรม นิสัยการบริโภคอาหาร หรือชนิดและปริมาณไขมันในอาหาร ที่ได้รับอยู่ประจำ การดำรงชีวิต ลักษณะของกิจกรรมในการดำรงชีวิต มีผลทำให้เกิดภาวะอ้วนขึ้นได้ สรุปง่ายๆ ก็คือ ถ้าไม่มีโรคที่ทำให้เกิดภาวะอ้วนเกิดขึ้นแล้ว การที่คนเราจะอ้วนได้ง่าย ก็เนื่องจากมีกรรมพันธุ์อยู่แล้ว หรือความไม่สมดุลกัน ระหว่างพลังงานที่ได้รับเข้าไป กับพลังงานที่ใช้ ถ้าพลังงานที่ได้รับ (รับประทานเข้าไป) มากกว่าพลังงานที่ใช้ (ในการทำงานและการออกกำลังกาย) จะทำให้พลังงานเหลือ สะสมในรูปของไขมัน

การรักษาภาวะอ้วน
• ต้องมีจิตสำนึกที่ดีว่า ไม่ควรจะปล่อยให้มีความอ้วนเกิดขึ้น และมีความตั้งใจแน่วแน่ ที่จะคอยคุมน้ำหนัก อย่าปล่อยตัวเองให้เป็นทาส ของความอยากอาหาร พึงระลึกไว้เสมอ กินเพื่ออยู่ เพื่อสุขภาพ ไม่ใช่อยู่เพื่อกินไปเรื่อยๆ จนอาจจะเกิดโรคขึ้นได้
• ควบคุมอาหาร หรือเปลี่ยนลักษณะของอาหารที่รับประทาน ไม่ใช่อดอาหาร ควรรับประทานที่มีเส้นใยมากๆ เช่น ผลไม้บางอย่าง ลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล ไขมัน ปริมาณอาหารที่รับประทาน ก็ควรจะเหมาะสมกับพลังงานที่ใช้ อย่ารับประทานจุกจิก ถ้าอดไม่ได้ ให้เลือกรับประทานผลไม้ ที่มีเส้นใยมากๆ เช่น ฝรั่งหรือแอปเปิ้ล
• ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ (ถ้าได้เริ่มต้นทำแล้ว ควรจะทำต่อไปเรื่อยๆ อย่างน้อยประมาณ 15 นาที ถึง ครึ่งชั่วโมง ในแต่ละวัน)
• การใช้ยาลดความอ้วน ควรปรึกษาแพทย์ และอยู่ในความดูแลของแพทย์ เพราะยาทุกอย่างมีผลข้างเคียงได้
• โรคบางอย่าง เช่นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคข้อเสื่อม นั้น การลดน้ำหนักตัวลงมา จะทำให้โรคดีขึ้น หรือง่ายที่จะควบคุมด้วยยาปริมาณน้อย บางครั้งจึงจำเป็นที่จะต้องใช้ยาลดความอ้วน เพื่อเป็นการเริ่มต้นในการลดน้ำหนัก

นายแพทย์พูนศักดิ์ เลาหชวลิต แผนกอายุรกรรม
แหล่งข้อมูล : วารสารโรงพยาบาลรามคำแหง ฉบับที่ 5 – http://www.ram-hosp.co.th/books

ทั้ง 3 รูปนี้เป็นโรคเดียวกันค่ะ

วิธีการรักษาคอเคล็ด

คอเคล็ด
1.เริ่มต้นจาก บีบนวดคลายกล้ามเนื้อลงบนแนวของกล้ามเนื้อที่รู้สึกปวดเมื่อย หรือนอนราบ เพื่อให้กล้ามเนื้อคอได้พัก
2.ใช้กระเป๋าน้ำร้อนหรือผ้าชุบน้ำอุ่น ประคบบริเวณกล้ามเนื้อต้นคอที่เคล็ด ทิ้งไว้ประมาณ 20-30 นาที แล้วนวดเบาๆตรงบริเวณคอ เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว
3.ใช้มือช่วยดัน ศีรษะไปในทิศทางที่เกิดอาการตึงช้าๆ จนรู้สึกตึงเล็กน้อย ดันค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง จนรู้สึกว่าอาการทุเลาลง
4.รับประทาน ยาจำพวกคลายกล้ามเนื้อ

โรคเวียนศรีษะนั้นเป็นโรคที่พบได้บ่อยมาก เชื่อได้ว่าน่าจะไม่มีใครบนโลกนี้ ที่ไม่เคยมีอาการเวียนหัวเลยสักครั้งในชีวิต เป็นโรคที่พบได้ทุกเพศทุกวัย แต่วัยที่พบได้มากคือวัยผู้สูงอายุ มีสาเหตุอยู่หลายอย่างครับ เรามีหลักในการจำแนกสาเหตุของโรคง่ายๆได้ดังต่อไปนี้
1. แยกให้ได้ก่อนว่าเป็น มึนเวียนหัวแท้ (True Vertigo) หรือ มึนเวียนหัวเทียม (False Vertigo) วิธีแยกง่ายๆก็คือการมีประวัติอาการดังต่อไปนี้ครับ ถ้ามีอาการมึนนั้นมีอาการ เวียนหัวแบบมีบ้านหมุน หรืออาการโครงเครงหรือมีการเสียการทรงตัวด้วย หรือ คนไข้บอกว่ามีอาการเหมือนคนเมา หรือนั่งในเรือโครงๆ หรือมีอาการเสียงดังในหู (Tinitus) แบบนี้เป็นอาการ มึนเวียนหัวแท้ (True Vertigo) ถ้าไม่มีอาการแบบข้างบนเช่นมีแค่มึนๆ ตื้อๆ ปวดๆ ไม่มีอาการเวียนหัวบ้านหมุนร่วมด้วย แบบนี้มักเป็นอาการ มึนเวียนหัวเทียม (False Vertigo) สาเหตุมักเกิดจากความเครียด นอนน้อย หรือโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ ฯลฯ
2. เมื่อแยกได้แล้วว่าเป็น มึนเวียนหัวแท้(True Vertigo) ก็มาแยกว่าเป็นอาการ มึนเวียนที่มีสาเหตุมาจากหูส่วนใน (Peripheral vertigo) หรือ อาการมึนเวียนที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติที่สมอง (Central Vertigo) อาการมึนเวียนที่มีสาเหตุมาจากหูส่วนใน (Peripheral vertigo) พบได้มากประมาณมากกว่า 90% ของ มึนเวียนหัวแท้ (True Vertigo) ทั้งหมด สาเหตุของปัญหาเกิดจากหูส่วนใน ถ้ามีอาการ เสียงดังในหู จะช่วยบ่งชี้ชัดว่าเป็น มึนเวียนที่มีสาเหตุมาจากหูส่วนใน (Peripheral vertigo) อาการชนิดนี้พบมากที่สุดของอาการมึนเวียนหัวแท้ทั้งหมด (แต่น้อยรายที่จะมีอาการบอกว่ามี เสียงดังในหู) อาการมึนเวียนที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติที่สมอง (Central Vertigo) พบน้อยกว่าแต่รุนแรงกว่ามาก เพราะสาเหตุเกิดความผิดปกติที่สมอง เช่น สมองขาดเลือดเฉียบพลัน สิ่งที่บ่งชี้ว่าเป็นชนิดนี้คือ มีอาการผิดปกติทางระบบประสาท เช่น มีแขนขาอ่อนแรงเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต (แต่ไม่เสมอไปไม่ต้องมีก็ได้) ถ้ามีอาการรุนแรง และดูแย่กว่าเวียนหัวทั่วๆ ไป หรือเมื่อได้รับการรักษาแบบมึนเวียนที่มีสาเหตุมาจากหูส่วนใน (Peripheral vertigo) แล้ว อาการไม่ดีขึ้นเท่าที่ควร ต้องไม่ลืมนึกถึงอาการมึนเวียนที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติที่สมอง

การรักษา
1. ถ้าเป็น มึนเวียนที่มีสาเหตุมาจากหูส่วนใน การรักษาแค่รับประทานยา (ควรปรึกษาแพทย์ว่าควรทานยาอะไร) หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้อาการมากขึ้นเช่น การพักผ่อนน้อย การทำอะไรก้มๆ เงยๆ ตัวอย่างของยาที่ใช้กันบ่อยๆ ในการรักษาภาวะเวียนหัวคือ •Dramamine •Stugeron •Sibelium •Merislon •Duxaril ฯลฯ
2. ถ้าเป็น อาการมึนเวียนที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติที่สมอง ควรต้องทำการสแกนสมอง แล้วควรรักษากับแพทย์ทางระบบประสาท
3. ถ้าเป็น อาการมึนเวียนที่ไม่ใช่ Vertigo ก็ควรแก้ตามแต่สาเหตุนั้นๆ เช่น •ถ้าเครียด ก็แก้ความเครียด •ถ้าความดันต่ำหรือสูง ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ •ถ้าพักผ่อนน้อย ก็ควรพักผ่อนให้เพียงพอ •เป็นโรคหัวใจควรรักษาโรคหัวใจนั้น ถ้าท่านไม่แน่ใจว่าจะตัวเองเป็นประเภทไหนต้องทำตัวอย่างไร ก็ไปพบแพทย์ใกล้บ้านท่านเพื่อรับคำปรึกษานะครับ

 เรื่องระยะเวลาการใช้ยาที่เหมาะสมถูกต้องตามแผน การรักษามีหลายแบบแตกต่างกัน แต่แบบที่พบได้บ่อยๆ มี ๓ ลักษณะ ดังนี้

 

. ชนิดที่ใช้เมื่อมีอาการเท่านั้น (เมื่ออาการดีขึ้นแล้วให้หยุดยาได้เลย)

. ชนิดที่ต้องใช้ติดต่อกันจนหมด

. ชนิดที่ต้องใช้อย่างต่อเนื่องติดต่อกัน (ห้ามหยุดยาเองเด็ดขาด)

 

ชนิดที่ต้องใช้ติดต่อกันจนหมด

 

          การใช้ยาแบบนี้พบได้บ่อยในโรคติดเชื้อ ไม่ว่าการติดเชื้อนี้จะเกิดจากแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส หรือเชื้ออื่นๆ ซึ่งจะต้องใช้ยาปฏิชีวนะ (ที่ชาวบ้านเรียกว่ายาแก้อักเสบ) และยาต้านเชื้อชนิดอื่นๆ เหตุผลสำคัญที่ต้องใช้ติดต่อกันจนหมด คือ ในการติดเชื้อแต่ละครั้ง ผู้ป่วยจะได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่มากเพียงพอให้เกิดโรคได้ หลังจากรับเชื้อแล้ว ผู้ป่วยจะยังไม่มีอาการแสดงออกทันที ต้องกินระยะเวลาพอสมควร ในระหว่างนี้เชื้อจะเริ่มแพร่พันธุ์ขยายการทำลายโดยเพิ่มจำนวนมากขึ้นๆ จนถึงระดับหนึ่ง ที่เริ่มมีอาการแสดงออก เราจะเรียกระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นรับเชื้อจนถึงเริ่มมีอาการนี้ว่า ระยะฟักตัว ซึ่งแตกต่างกันตามธรรมชาติของการติดเชื้อแต่ละชนิด บางชนิดอาจใช้เวลาเพียง ๒๓ วัน หรือ ไม่เกิน ๑ สัปดาห์ เช่น โรคไข้หวัด แผล (ร้อนใน) ในปาก เป็นต้น แต่ในบางชนิดอาจกินเวลานานๆ เป็นเดือนๆ เป็นปี เช่น โรคเอดส์ หรือวัณโรค เป็นต้น

 

          เมื่อถึงระยะฟักตัว ซึ่งเป็นระยะที่มีปริมาณเชื้อมากพอสมควรและมีอาการแสดงออกแล้ว ผู้ป่วยจึงรู้ตัว และเริ่มต้นการรักษา ซึ่งมักได้ยาต้านเชื้อโรคมาด้วยเป็นส่วนใหญ่ (ยกเว้นโรคติดเชื้อบางชนิดที่ยังไม่มียารักษาโดยตรง เช่น ไข้หวัด ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส จึงมักได้รับคำแนะนำให้รักษาตามอาการและรักษาสุขลักษณะที่ดี เพื่อให้หายจากไข้หวัดให้เร็วที่สุด) เมื่อได้รับยาต้านเชื้อ หรือที่รู้จักกันดี ได้แก่ ยาปฏิชีวนะมาแล้ว เมื่อเริ่มใช้ยาถ้ายาชนิดนั้นเป็นยาที่ได้ผลดี เชื้อไวต่อยา หรือยาต้านเชื้อได้ดี จำนวนเชื้อจะลดลงเรื่อยๆ จนถึงจุดจุดหนึ่งที่เริ่มไม่มีอาการแสดงออกแล้ว ถ้าเป็นโรคคออักเสบ เจ็บคอ อาการเจ็บคอ ก็หายแล้ว แต่ ณ จุดจุดนี้ยังมีเชื้อหลงเหลืออยู่จำนวนหนึ่งที่น้อยกว่าระดับที่แสดงอาการ คล้ายกับเป็นการย้อนกลับของการติดเชื้อตั้งแต่เริ่มต้นได้รับเชื้อและเพิ่มปริมาณมากขึ้นๆ เรื่อยๆ จนเริ่มมีอาการในระยะฟักตัว

 

          ในกรณีนี้ถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีเชื้อหลงเหลืออยู่บ้าง ถ้าปล่อยทิ้งไว้ หรือหยุดกินยา เชื้อเหล่านี้ก็อาจเพิ่มจำนวนกลับมาแสดงอาการได้ใหม่ มิหนำซ้ำเชื้อเหล่านี้ที่เหลืออยู่อาจปรับตัวและดื้อต่อยาเดิมที่เพิ่งหยุดใช้ คือ จะใช้ยาเดิมก็จะไม่ได้ผลดีแล้ว ดังนั้นในการใช้ยาต้านเชื้อ เมื่ออาการดีขึ้น หรือไม่มีอาการแล้ว จึงควรใช้ยาต่อจนครบตามจำนวนที่สั่งจ่าย เพื่อกำจัดเชื้อโรคให้เหลือน้อยที่สุด หรือหมดไปจากร่างกายของเรา โดยเฉลี่ยจะต้องใช้ยาปฏิชีวนะประมาณ ๕๗ วัน แต่ในโรคติดเชื้อบางชนิด อาจใช้น้อยกว่านี้ เช่น โรคติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ หรือที่รู้จักกันดีว่าโรคขัดเบา ที่พบได้บ่อยๆ ในผู้หญิงอาจใช้ยาเพียง ๓ วัน หรือโรคหนองใน (แท้) ที่ใช้เพียงครั้งเดียวก็เพียงพอในการรักษา แต่ในโรคติดเชื้อชนิดที่รุนแรง หรือโรคที่เกิดจากเชื้อที่ตายช้า เช่น โรคหนองในเทียม อาจต้องใช้ยาติดต่อกันถึง ๑๔ วัน หรือวัณโรคที่ต้องใช้ยาติดต่อกันอย่างน้อย ๖ เดือน จึงจะได้ผลดี เป็นต้น

 

          ถ้าใช้ยาปฏิชีวนะเมื่อมีการติดเชื้อและใช้ตามการสั่งจ่าย เมื่อหายดีแล้วหรือเชื้อที่ก่อโรคตายหมดแล้วก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยานี้อีก เพราะจะทำให้เกิดผลเสีย คือเชื้อดื้อยาได้ง่ายขึ้น และต่อไปจะใช้ยานี้ไม่ได้ผลในการรักษา ยกเว้นในรายที่มีการติดเชื้อใหม่ และมีความจำเป็นต้องใช้ยานี้เท่านั้น

 

ผู้เขียน: ภก.พุทธิพันธ์ รอดสุวรรณ

http://www.doctor.or.th/node/1739

photoallergyผื่นแพ้แดด (Photoallergy) เป็นรูปแบบหนึ่งของ ผื่นแพ้สัมผัส (Allergic Contact Dermatitis) คือเมื่อสารแพ้สัมผัสผิวหนังจะต้องถูกแสงแดดกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้ ในการสัมผัสกับแสงแดดครั้งถัดๆไป และก่อให้เกิดผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบ (Eczematous Rash) สาเหตุ ยาหรือภาวะหลายๆ อย่างสามารถก่อให้เกิดผื่นแพ้แดด เช่น •PSORALENS, COAL TARS •MUSK AMBRETTE, METHYLCOUMARIN, LEMON OIL (พบในสารน้ำหอม) •PABA (พบในครีมกันแดด) •SALICYLANILIDE (พบในอุตสาหกรรมทำความสะอาด) •ST JOHN’S WORT (ใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้า) •HEXACHLOROPHENE (พบในสบู่ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย) •สัมผัสกับน้ำหล่อเลี้ยงในเนื้อไม้ของพืชบางอย่างในสวน เช่น GIANT HOGWEED, COMMON RUE •ยาปฏิชีวนะ TETRACYCLINE •ยากลุ่ม NSAIDS •ยาปฏิชีวนะ FLUOROQUINOLONE •AMIODARONE ใช้ในการรักษา ATRIAL FIBRILLATION •PELLAGRA (โรคที่เกิดจากการขาดสาร NIACIN) •LIME OIL อาการ •มีอาการบวมแสบร้อนที่ผิวหนัง •มีผื่นรอยแดงคัน •บางครั้งอาจจะมีตุ่มน้ำใสเล็กๆ •หนังลอก •อาจจะมีอาการคลื่นไส้ •มีจุดหรือรอยเล็กบ้างใหญ่บ้างที่ผิวหนังร่วมกับมีอาการคัน บางครั้งดำรงอยู่เป็นระยะเวลานาน การป้องกัน คือต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแดด •อยู่ในเคหสถานในช่วงที่มีแดดแรง (11.00-15.00 น.) •ใส่เสื้อผ้าปกปิด เช่นใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ใช้ผ้าพันคอ •หลีกเลี่ยงสารที่จะก่อให้เกิดการแพ้แดด •ใช้ครีมกันแดด ที่มี SPF อย่างน้อย 30 และที่สามารถป้องกัน UVA ได้อย่างสูง อาหารและการป้องกัน อาหารและการรักษาต่อไปนี้อาจจะมีประโยชน์ในโรคผื่นแพ้แดด •Beta Carotene พบในแครอท (ยังไม่พิสูจน์ชัดเจนว่าได้ประโยชน์) •Omega 3 Fatty Acid (พบในน้ำมันปลา) •การกินอาหารประเภทโปรตีน เพราะภาวะขาดโปรตีนก็ทำให้แพ้แดดได้ง่าย •เสริม วิตามิน B3 C D E •การดื่มชาเขียว (มีสารต้านอนุมูลอิสระ) •การทาว่านหางจระเข้ ที่ผิวหนังที่แพ้แดด •ใช้ Niacin ในโรค Pellagra

อ้างอิง medicarzine

โรคนิ้วล็อก

โรคนิ้วล็อกเป็นความผิดปกติของมือที่ไม่สามารถงอหรือเหยียดได้อย่างปกติ อาจเป็น เพียงนิ้วเดียวหรือหลายนิ้ว อาการเริ่มตั้งแต่เจ็บบริเวณฐานนิ้วนั้น ๆ นิ้วมีความฝืดในการเคลื่อนไหว สะดุด หรือกระเด้ง เข้าออกเวลางอหรือเหยียด จนต่อมามีอาการล็อก คือ หาก งอหรือกำนิ้วมือไว้ จะไม่ยอมเหยียดออกเอง ต้องใช้อีกมือหนึ่งมาช่วยง้างออก มีอาการเจ็บปวด เวลาดึงออก หรือบางครั้งอาจจะเหยียดออกแต่เวลางอนิ้วจะงอไม่ลง หากปล่อยทิ้งไว้ นิ้วมือ นั้น ๆ อาจเปลี่ยนรูปเป็น โก่ง งอ บวม เอียง นิ้วเกยกัน นิ้วอาจแข็งทื่อ ไม่สามารถงอลงหรือเหยียดขึ้น ทำให้การใช้งานของมือในชีวิตประจำวันเป็นอุปสรรคและไม่สามารถใช้ทำงานได้ หากปล่อยทิ้งไว้ต่อไป ข้อต่ออาจจะยึด และข้อเหยียดไม่ออก ขยับไม่ได้ พังผืดรอบข้อต่อของ นิ้วยึดแข็ง ทำให้มือพิการได้ เหยียดตรงไม่ได้

 

สาเหตุเกิดจากการใช้งานของมือในท่ากำบีบอย่างแรง และซ้ำ ๆ บ่อย ๆ กำบีบเครื่องมือเช่น คีมไขควง บิดผ้า หรือการหิ้วถุงพลาสติกหนัก ๆ เป็นประจำ พบได้ในแม่บ้านไทย จีน ในเมืองไทยเป็นจำนวนมาก ในการหิ้วถุงพลาสติกใส่อาหาร ผลไม้ จากตลาดหรือ ห้างซุปเปอร์มาร์เก็ต และหิ้วถุงหนัก ๆ เดินกลับบ้านจากตลาดเป็นระยะทางไกล ๆ (วัฒนธรรมคนไทย) อาชีพบางอย่าง จำเป็นต้องใช้มือทำกิจกรรม บีบ กำ กระแทก เช่น คนทำไร่ทำสวน ช่างไม้ ช่างก่อสร้าง มีหลายอาชีพซึ่งดูไม่รุนแรงแต่มีการใช้งาน กำอุปกรณ์เป็นเวลานาน ๆ ซ้ำ ๆ ทั้งวัน ก็ทำให้เกิดอาการนิ้วล็อก เช่น ช่างทำผม มือหนึ่งกำแปรง หวีสางผม อีกมือถือไดร์เป่าผมหรือกรรไกร ช่างตัดเสื้อใช้กรรไกรตัดเสื้อผ้า พ่อครัวแม่ครัวมือจับกระทะอีกมือจับตะหลิว ผัด อาหารทั้งวัน ทำให้เป็นนิ้วล็อกในเวลาต่อมา

 

ปัจจัยที่สำคัญในการเป็นโรคนิ้วล็อก คือ ความแรงในการบีบ กระแทก บีบ กำ บด สับ ความถี่ ความบ่อย ในการใช้มือกำบีบเครื่องมือ อีกปัจจัย คือ ความเสื่อมของวัย ซึ่งพบในวัย 45 ปีขึ้นไปเป็นจำนวนมาก แต่ให้ความสำคัญน้อยกว่าปัจจัยแรก บางครั้งคนหนุ่มสาวกระชากกิ่งไม้ด้วยมือเปล่าเกิดการบาดเจ็บอย่างรุนแรงฉับพลันและพัฒนาเป็นนิ้วล็อกในเวลาอันใกล้ หรือหิ้วถุงพลาสติกหนัก ๆ ซ้ำ ก็เป็นนิ้วล็อกตั้งแต่อายุน้อย ๆ

 

ลักษณะการใช้งานของมือในแต่ละกิจกรรมใช้แต่ละนิ้วไม่เหมือนกันก็ทำให้เป็นนิ้วล็อก ของแต่ละนิ้วอย่างสัมพันธ์กัน เช่น ครูบาอาจารย์ นักบริหาร ด็อกเตอร์ นักวิชาการ มักเป็นนิ้วล็อกที่นิ้วโป้งขวา เพราะใช้เขียนหนังสือมากและใช้นิ้วโป้งกดปากกานาน ๆ ช่างไม้ มักเป็นที่นิ้วกลางขวา คนตีกอล์ฟ เป็นนิ้วกลาง นาง ก้อย มือซ้าย เพราะการจับไม้กอล์ฟ บดกระแทกด้วยมือซ้าย นักแบดมินตัน เป็นนิ้วล็อกที่นิ้วชี้ และนิ้วกลางขวา แม่บ้านซักบิดผ้า เป็นนิ้วชี้ซ้ายและนิ้วขวา ฯลฯ

 

การกำมือบีบกระแทกเกิดการบดกันของเข็มขัดรัดเส้นเอ็น ทำให้บวมอักเสบและหนาตัว เป็นผังพืดยึดแข็งตัวขึ้นตามลำดับจนเสียความยืดหยุ่นไม่ยอมให้เส้นเอ็น ซึ่งปกติเดิมยอมยึดให้เส้นเอ็นวิ่งผ่านไปมา เวลากำมือ เหยียดมือ เมื่อเกิดการเสื่อมเสีย เส้นเอ็นก็วิ่งไม่ผ่าน เกิดอาการเจ็บ ยึด สะดุด กระเด้ง ล็อก เสียรูป คดงอโก่ง บวม เกยกันใช้งานของมืออย่างปกติไม่ได้เป็นอุปสรรค์ในชีวิตประจำวัน และการทำงานทำให้เกิดปัญหาเพิ่มพูนขึ้นทางจิตใจ ทั้งต่อตัวเองและต่อครอบครัว

 

โรคนิ้วล็อกเป็นความผิดปกติของมือคนทำงานยิ่งแข็งแรงมากยิ่งขึ้นมีโอกาสมาก สามารถพบได้ในแม่บ้านเกือบทุกบ้าน พบมากในคุณผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 3-4 เท่า ทั้งนี้เพราะผู้หญิงในเมืองไทย มีการใช้งานของมือรุนแรงซ้ำซากมากกว่าผู้ชาย ตั้งแต่หิ้วของ จ่ายกับข้าว Shopping ซื้อเสบียงเข้าบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลไม้ ยิ่งถูกยิ่งหิ้วมาก การเตรียมอาหาร การสับไก่ กระดูก การทำอาหารใช้มือจับกะทะ ตะหลิว การซักผ้า บิดผ้า ทำงานบ้านต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นหน้าที่ของคุณผู้หญิง ในบางบ้านผู้ชายทำหน้าที่เป็นแม่บ้าน ดังกล่าว บ้านนั้นพบนิ้วล็อกในคุณผู้ชายแทน วัยที่พบโรคนิ้วล็อกตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป มากสุด ช่วงอายุ 50-60 ปี ผู้ชาย พบโรคนิ้วล็อกเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ มักพบในผู้ชายตีกอล์ฟ ทำสวน และกลุ่มช่าง เป็นส่วนใหญ่

 

โรคนิ้วล็อกพบได้ในคนขาไม่ดี เช่น ปวดเข่า ปวดสะโพก ปวดหลัง เพราะใช้ไม้เท้าบีบ กำ กด อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า ทำให้ผ่ามือกดจับด้ามและเป็นนิ้วล็อกในที่สุด คนที่เป็น เบาหวานมีโอกาสเป็นมากขึ้นกว่าคนปกติ เด็กเล็กพบเป็นโรคนิ้วล็อกได้ เป็นมาแต่กำเนิด จริง ๆ ตอนแรกเกิดยังไม่พบแต่พบในขวบปีแรก ส่วนใหญ่พบที่นิ้วโป้ง ข้างใดข้างหนึ่งหรือ ทั้งสองข้างอยู่ในท่างอเหยียดไม่ออก ถ้าเป็นน้อย ๆ การบีบนวด ดัด ดาม ก็อาจหายเองได้ แต่ส่วนใหญ่ต้องได้รับการผ่าตัด และมักจะหายกลับมาเป็นปกติได้

 

โรคนิ้วล็อกมีสาเหตุชัดเจน และหากรู้จักระมัดระวังตัว จะป้องกันได้ เช่น การหิ้วถุง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ป้องกันได้ หิ้วถุงให้ถูกวิธี หิ้วให้เต็มฝ่ามือแทนการใช้นิ้วเกี่ยว ใช้ผ้ารอง ใช้รถเข็น รถลาก การทำงานบางอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ควรประยุกต์ใช้เครื่องทุนแรง ใส่ถุงมือ ประยุกต์ด้ามจับอุปกรณ์ให้ใหญ่และนิ่มจะลดความเสี่ยงได้ ถึงแม้เป็นโรคนิ้วล็อก การรักษาตั้งแต่แรกย่อมช่วยชลอหรือตัดขบวนการที่จะพัฒนาต่อไปจนเป็นขั้นรุนแรง สามารถหายได้ด้วยการพักมือ การใช้ความร้อน การบีบนวด การใช้ยาต้านการอักเสบ การฉีดยา แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ จนอาการล็อกรุนแรง นิ้วเสียรูป การรักษาที่หายขาดได้ คือ วิธีการผ่าตัดซึ่งก็มีทางเลือกใหม่เพียงแต่เจาะตัดปลอกหุ้มเอ็น ไม่ต้องผ่าตัดเปิดแผล ไม่ต้องเย็บแผล และสามารถกลับไปทำงานได้เร็วกว่าวิธี การผ่าตัดแบบเปิด

 

อาการที่พบ เริ่มจากเจ็บฐานนิ้ว โคนนิ้วด้านฝ่ามือ นิ้วฝืด สะดุด กำมือหรือเหยียดมือไม่สะดวก กระเด้ง หรือล็อก อาจล็อกในท่านิ้วงออยู่ เหยียดไม่ออก หรือนิ้วเหยียด อยู่แต่งอไม่ลง นิ้วอาจบวม โก่งงอ นิ้วเกยกัน แบไม่ออก เจ็บปวด มือไม่มีกำลัง หรืออาจมีอาการนิ้วชาร่วมด้วย เป็นนิ้วไหนก็ได้ขึ้นอยู่กับอาชีพและการใช้งานรุนแรง

รูปกลุ่มอาการที่พบเห็น


 

อาชีพที่มักเป็นโรคนิ้วล็อก

แม่บ้าน หิ้วถุงช๊อปปิ้ง หิ้วตะกร้าจ่ายตลาด ซักผ้า บิดผ้า สับหมู สับไก่ มักเป็น นิ้วกลาง นิ้วนาง มือซ้ายและมือขวา

นักกอล์ฟ กำไม้กอล์ฟ กระแทกลูกกอล์ฟขณะตีลูก มักเป็น นิ้วกลาง นิ้วนาง มือซ้าย

คนทำสวน ใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ หิ้วถังน้ำรดน้ำต้นไม้ ใช้มือขุด พรวนดินต้นไม้ มักเป็น

นิ้วกลาง นิ้วนาง มือขวา

ช่าง ใช้มือกำบีบเครื่องมือ เช่น ไขควง คีม ค้อน เลื่อย ฯลฯ มักเป็น นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง มือขวา

คนขายของชำ หยิบ ยก สิ่งของทั้งวันที่ขายของ ทำให้เป็นนิ้วชี้ นิ้วกลาง ทั้งสองข้าง

คนขายหมู สับกระดูกหมู มักเป็น นิ้วกลาง นิ้วนาง มือขวา

คนนวดแป้งซาลาเปา มักเป็น นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง มือซ้ายและมือขวา

หมอนวดแผนโบราณ มักเป็น นิ้วโป้ง มือซ้ายและมือขวา

คนขายน้ำขวด ถังแก๊ส มัก เป็น นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง มือซ้ายและมือขวา

แม่ครัวโรงเรียน ยกหม้ออาหารใหญ่ ๆ ถังน้ำใหญ่ ๆ มักเป็น นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง มือซ้าย

และมือขวา

ครู ผู้พิพากษา นักบริหาร นักบัญชี มักเป็น นิ้วโป้ง มือขวา

ความเสี่ยงเกิดจากนิ้วนั้น ๆ ต้องเกร็ง กำ บด ปะทะ หิ้ว ทำให้เส้นเอ็น บดและยืด เข็มขัดรัดเส้นเอ็น ซึ่งความยืดหยุ่นเสื่อมเสีย เมื่อวัยเกินอายุ 40 ปี ทำให้เข็มขัดหนาตัว แข็งตัวเป็นพังผืด และกีดขวางการเคลื่อนตัวของเส้นเอ็น ทำให้นิ้วนั้น ๆ งอ หรือ เหยียดไม่สะดวกจนเกิดอาการนิ้วล็อก 40 ปี ทำให้เข็มขัดหนาตัว แข็งตัวเป็นพังผืด และกีดขวางการเคลื่อนตัวของเส้นเอ็น ทำให้นิ้วนั้น ๆ งอ หรือ เหยียดไม่สะดวกจนเกิดอาการนิ้วล็อก

ที่มา Trigger Finger Percuteneous Release
Dr Vichai Vichitporkul ,MD


  • None
  • No comments yet

Categories