Healthy Hc

ยา Steroid

Posted on: July 14, 2011

Steroid เป็นยาที่มีใช้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีคุณสมบัติหลายประการขึ้นอยู่กับชนิดของยา บางชนิดออกฤทธิ์ควบคุมระบบเมตาบอลิคของโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมัน บางชนิดมีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบและกดระบบภูมิคุ้มกัน (immunosuppressant) ในทางการแพทย์จึงนำเอาคุณสมบัติดังกล่าวมาใช้ในการรักษาโรคต่างๆ อาทิ โรคข้ออักเสบ (synovitis) โรคกล้ามเนื้ออักเสบ (myositis) โรคไตอักเสบ (nephritis) โรค SLE เป็นต้น เป็นต้น (1)
ยา Steroid ที่ใช้ทางการแพทย์มีหลายรูปแบบ เช่น ยาเม็ด ยาครีมหรือโลชั่น ยาน้ำและยาฉีด ซึ่งมีตัวยาสำคัญและความแรงแตกต่างกัน โดยความแรงของยา steroid แบ่งออกได้ดังนี้
1.Equivalence potency คือขนาดของยา steroid แต่ละตัวโดยเปรียบเทียบขนาดสมมูลของฤทธิ์ต้านการอักเสบเทียบกับยาอื่นๆ ในกลุ่ม เช่นprednisolone 5 mg มีความแรงเทียบเท่ากับ hydrocortisone 20 mg เป็นต้น
2.Anti-inflammatory potency คือ ผลในการฆ่าเชื้อของยา steroid แต่ละตัวโดยเทียบกับ hydrocortisone ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้เปรียบเทียบ เช่น prednisolone มีความแรงในการฆ่าเชื้อเป็น 4 เท่าของ hydrocortisone
3.Sodium retaining potency คือ ผลของยา steroid ที่ทำเกิดการคั่งของโซเดียมในร่างกาย โดยเทียบกับ hydrocortisone ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้เปรียบเทียบ เช่น prednisolone มีผลทำให้เกิดการคั่งของโซเดียมเป็น 0.5 เท่าของ hydrocortisone
ตารางแสดง relative potencies of glucocorticoids คลิ๊กที่นี่ http://www.beupload.com/download/?882993&A=504611

รูปแบบของยา steroid ที่มีใช้ทางการแพทย์ มี 2 ลักษณะ
•Systemic corticosteroids(4)เป็น steroid ชนิดใช้ภายใน มีตัวยาสำคัญ ความแรง รูปแบบ ดังตารางแสดงตอไปนี้ http://www.beupload.com/download/?882994&A=896812
•Topical corticosteroids(5) เป็นยา steroid ชนิดใช้ภายนอก มีตัวยาสำคัญ ความแรง รูปแบบ ดังตารางแสดงต่อไปนี้ http://www.beupload.com/download/?882995&A=288928

สำหรับสเตียรอยด์ที่ใช้ในทางการแพทย์นั้น เป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้นจาก
ต้นแบบ Cortisol มนุษย์เราได้พัฒนาความแรงของ Cortisol เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและมีฤทธิ์เฉพาะเจาะจงกับโรคบางอย่างที่ต้องการมากขึ้น

ผลิตเป็นยาแผนปัจจุบันเพื่อใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค รวมถึงใช้ทดแทนในกรณีที่ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนดังกล่าวได้โดยยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์นี้ฎหมายกำหนดให้เป็นยาควบคุมพิเศษ เนื่องจากมีความเป็นพิษสูง และเป็นอันตราย และต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายเท่านั้น

ยากลุ่มสเตียรอยด์

Hydrocortisone Prednisolone Triamcinolone

Fluocinolone Betamethasone Clobetasol

Desoximetasone Prednicarbate Mometasone

Beclomethasone Budesonide Dexamethason

ถ้าสังเกตจากชื่อยาจะเห็นว่า มักลงท้ายด้วย -one หรือ -ol เสมอ

ยกเว้นบางตัว ดังนั้นจึงพอใช้เป็นข้อสังเกตว่ายาแผนปัจจุบันตัวไหนเป็นสเตียรอยด์หรือไม่ถ้าพบว่ายาที่ได้นั้นมีชื่อเหล่านี้ก็เป็นที่ทราบเลยว่าท่านได้รับสารสเตียรอยด์แล้วและท่านต้องปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์โดยเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัย

ยากลุ่มสเตียรอยด์มีประโยชน์ และ โทษดังนี้

ประโยชน์ ทดแทนภาวะขาดฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต ข้ออักเสบเฉพาะที่รุนแรงควบคุมไม่ได้ด้วยยามาตรฐาน โดยให้ยาด้วยวิธีรับประทาน หรือ ฉีดเข้าข้อโดยตรง

หัวใจอักเสบรูมาติก โรคไต บางชนิด เช่น Glomerulonephritis, Nephrotic syndrome

โรคเกี่ยวกับคอลลาเจนบางชนิด เช่น Polymyositis, Polyarteritis nodusa,

systemic lupus erythematosus (SLE) โรคภูมิแพ้ ที่รุนแรง ควบคุมด้วยยามาตรฐานแล้วไม่ได้ผล เช่น หอบหืดอย่างรุนแรง โรคปอดเรื้อรัง โดยส่วนใหญ่ใช้ในรูปของยาพ่น กิน หรือ ฉีด โรคตา ในรูปหยอด หรือป้ายตา โรคผิวหนังผื่นแพ้ ในรูปยาทาเฉพาะที่

โรคทางเดินอาหาร ได้แก่ Ulcerative colitis, Crohn’s disease โรคตับ Subacute Hepatic Necrosis, Chronic active Hepatitis, ตับอักเสบจากแอลกอฮอล์และตับแข็งในสตรีที่ไม่ดื่มสุรา โรคมะเร็งในโรค Lymphoblastic Leukemia

มะเร็งเต้านม ป้องกันอาเจียนในผู้ที่ได้รับยาต้านมะเร็ง

ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง โรคโลหิตจาง Immunohemolytic anemia

การปลูกถ่ายอวัยวะ เพื่อให้เกิดการยอมรับอวัยวะผู้อื่นดีขึ้น

โทษ ยามีฤทธิ์กดการทำงานของต่อมหมวกไต ห้ามหยุดยาอย่างทันทีหลังจากใช้เป็นระยะเวลานาน เกิดลักษณะของผู้ที่ได้รับยาสเตียรอยด์นานๆ

ที่เรียกว่า Cushing’s Syndrome คือ มีอาการบวม ท้องลาย สิวเม็ดเล็กที่มีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่าสิวสเตียรอยด์ ผิวเข้มขึ้น ความดันโลหิตสูง อ่อนเพลีย ขนขึ้นตามตัวติดเชื้อง่ายขึ้น เกิดเชื้อราในช่องปากง่ายขึ้น เพราะยาจะไปกดระบบภูมิคุ้มกันที่คอยต่อต้านเชื้อโรค กดการเจริญเติบโตในเด็ก เกิดความดันโลหิตสูง ระดับโปแตสเซียมในเลือดต่ำ

กล้ามเนื้ออ่อนแรง ผิวหนังบาง เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis)

ความดันในลูกตาเพิ่มทำให้เป็นต้อหิน เลนส์กระจกตาขุ่น เกิดต้อกระจกภาวะไขมันในเลือดสูง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
อารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงง่าย

คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ทางเดินอาหารระคายเคือง เกิดแผลในกระเพาะอาหาร

ถ้าใช้ยามานาน แล้วหยุดยาทันทีกิดอาการถอนยา ทำให้เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน อ่อนล้า ปวดศรีษะ มีไข้ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ น้ำหนักตัวลดลง ความดันโลหิตต่ำ

กดผลการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง อื่นๆ ได้แก่ แผลหายช้า เกิดห้อเลือด ฟกช้ำง่ายมีไขมันสะสมมากที่ตับ ตับอ่อนอักเสบ มีขนขึ้นมาก
ประจำเดือนผิดปกติ หรืออาจไม่มีประจำเดือน ลดความรู้สึกทางเพศในผู้ชาย

ใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัยจากสเตียรอยด์
มักตรวจพบการลักลอบใส่สเตียรอยด์ในยาแผนโบราณ ยาลูกกลอน ที่ผลิตจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาติจากกระทรวงสาธารณสุข
และ ยาชุดที่จำหน่ายโดยบุคคลที่ไม่ใช่เภสัชกร

*****สังเกตยาแผนโบราณ หรือยาลูกกลอนต้องมีเลขทะเบียนตำรับยา วัน เดือน ปี ที่ผลิตยา ชื่อและจังหวัดที่ตั้งผู้ผลิตยา ชัดเจน
หรือ ผู้จำหน่ายมีใบอนุญาติขายยาแผนโบราณ*****

และมีเภสัชแผนโบราณ ประจำร้านซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขบังคับให้มีการติดป้ายใบอนุญาติ และใบประกอบโรคศิลปะให้เห็นชัดเจน สามารถตรวจสอบได้หากเกิดปัญหา

-** ซื้อยาจากร้านที่มีใบอนุญาตขายยา และมีเภสัชการประจำร้าน**
ทางกระทรวงสาธารณสุขบังคับให้มีการติดป้ายใบอนุญาติ และใบประกอบโรคศิลปะให้เห็นชัดเจน ทำให้สามารถตรวจสอบได้หากเกิดปัญหา

– ไม่ใช้ยาชุดหรือซื้อยา จากร้านขายของชำ รถเร่ หรือแผงลอย หรือยาจากผู้ไม่ได้ใบประกอบโรคศิลปะ

Leave a comment


  • None
  • No comments yet

Categories